Chapter 13

Data Modeling

                                                ภาพที่ 1 การสร้างแบบจำลองข้อมูล
แบบจำลองข้อมูลคือ
การสร้างแบบจำลองข้อมูลหรือแบบจำลองฐานข้อมูลจะเป็นขั้นตอนแรกของการออกแบบฐานข้อมูล ที่ซึ่งจะมุ่งเน้นที่การกำหนดโครงสร้างของฐานข้อมูลที่ซึ่งจะใช้ในการจัดเก็บและจัดการข้อมูลของผู้ใช้งาน ฐานข้อมูล ในหลาย ๆครั้งการสร้างแบบจำลองฐานข้องมูลอาจ หมายถึงการระบุถึงแบบจำลองข้อมูสำหรับการกำหนดขอบเขตของปัญหา (problem domain) ที่เราจะพิจารณา แบบจำลองข้อมูลมักมีลักษณะเป็น แผนภาพที่ใช้แสดงโครงสร้างที่ซับซ้อนของฐานข้อมูล มีหน้าที่ในการช่วยให้ผู้ออกแบบฐานข้อมูลสามารถเข้าใจความซับซ้อนของข้อมูลที่ถูกใช้ในองค์กรต่าง ๆ นอกจากนั้น แบบจำลองข้อมูลมักจะแสดงถึงโครงสร้างของข้อมูลในฐานข้อมูลและคุณลักษณะของข้อมูลเหล่านั้น ข้อจำกัดต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลง/เปลี่ยนรูปข้อมูล และอื่น ๆ ที่ซึ่งสามารถสนับสนุนการกำหนดขอบเขตของปัญหา
ส่วนประกอบของแบบจำลองฐำนข้อมูล 
โดยส่วนใหญ่ของแบบจำลองฐานข้อมูลมักจะประกอบไปด้วย เอ็นทิตี้ (entities), แอทริบิว (attributes), ความสัมพันธ์ (relationships) และ ข้อจำกัดต่างๆ (constraints)
·       เอ็นทิตี้ - ถูกใช้แทนวัตถุต่างๆ สามารถเป็นอะไรก็ได้ เช่น คน สถานที่ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ ที่ซึ่งจะ เป็นข้อมูลที่จะถูกจัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูล เนื่องจากเอ็นทิตี้หนึ่งจะใช้แทนข้อมูลชนิดหนึ่ง ๆ ดังนั้นแต่ ละเอ็นทิตี้จะต้องมีความแตกต่างกัน และแต่ละเอ็นทิตี้จะต้องมีความเป็นเอกลักษณ์เสมอ (มีข้อมูลที่ ไม่ซ้ำกัน) ตัวอย่างเช่น เอ็นทิตี้ของลูกค้าจะมีข้อมูลลูกค้าที่แตกต่างกันหลายคน โดยที่ลูกค้าคนหนึ่งจะ มีข้อมูลที่มีความแตกต่างลูกค้าคนอื่น ๆ - แดง อินทร์พรม จะมีชื่อและนามสกุลที่แตกต่างจากตุ๊กตา อารมณ์ดี เป็นต้น
·       แอทริบิว - จะแสดงถึงคุณลักษณะของเอ็นทิตี้ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลเอ็นทิตี้ลูกค้าถูกอธิบายด้วยแอทริ บิวต่างๆ เช่น ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัทพ์ ที่อยู่ และเครดิตที่ได้รับจากบริษัท เป็นต้น แอทริบิวใน ระบบฐานข้อมูลจะมักลักษณะเหมือนกับฟิลด์ในแฟ้มข้อมูล
·       ความสัมพันธ์ - จะแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นทิตี้ ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง ลูกค้าและพนักงานขายจะสามารถอธิบายได้ เช่น พนักงานขายหนึ่งคนสามารถดูแลลูกค้าได้หลายคน และลูกค้าคนหนึ่ง ๆ อาจถูกดูแลโดยพนักงานเพียงคนเดียว จากความความสัมพันธ์ดังกล่าว เรา สามารถแบ่งรูปแบบความสัมพันธ์ในแบบจ าลองข้อมูลออกเป็น 3 ชนิดหลัก คือ
1) one-to-many— สามารถเขียนแทนได้เป็น 1:M หรือ 1..*,
2) many-to-many—สามารถเขียนแทนได้เป็น M:N, M:M หรือ *..* และ
3) one-to-one—สามารถเขียนแทนได้เป็น 1:1 หรือ 1..1 ตามล าดับ เพื่อให้มีความ เข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบความสัมพันธ์มากขึ้นลองพิจารณาตัวอย่างดังต่อไปนี้
o   One-to-many - จิตรกรคนหนึ่งสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะได้หลายชิ้น แต่ผลงาน ศิลปะชิ้นหนึ่งๆจะสามารถถูกเขียนโดยจิตรกรเพียงคนเดียว จากความสัมพันธ์ข้างต้น เราสามารถเข้าใจโดยนัยได้ว่า จิตรกร (one) จะมีความสัมพันธ์กับผลงานศิลปะหลายชิ้น (many) ดังนั้น ในการออกแบบฐานข้อมูล เราจะแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับ “จิตรกร สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ” ได้เป็น “1:M”
o   Many-to many - พนักงานคนหนึ่งสามารถทำงานได้หลายหน้าที่ และหน้าที่ในการทำงานหนึ่งๆสามารถมีพนักงานหลายคนรับผิดชอบ ดังนั้น เราสามารถแสดงความสัมพันธ์ เกี่ยวกับ “พนักงานทำงาน” ได้เป็น “M:M”
o   One-to-one - ในธุรกิจค้าปลีกที่มีร้านค้าหลายสาขา ที่ซึ่งแต่ละสาขาจะมีผู้จัดการสาขา เพียงหนึ่งคนเท่านั้น ดังนั้น เราสามารถแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับ “ผู้จัดการสาขามีหน้าที่รับผิดชอบสาขาหนึ่ง ๆ” ได้เป็น “1:1”
ข้อจำกัด - จะเป็นข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ซึ่งจะสามารถช่วยเราได้แน่ใจเกี่ยวกับความสมบูรณ์ ของข้อมูลได้โดยส่วนใหญ่ของข้อจำกัดจะถูกแสดงอยู่ในรูปแบบของกฎต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น เงินเดือน ของพนักงานควรจะมีค่าอยู่ระหว่าง 6,000 ถึง 350,000 บาท หรือ เกรดเฉลี่ยของนักศึกษาควรจะมี ค่าอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 4.00 เป็นต้น
กฎเกณฑ์ทางธุรกิจ 
จากส่วนก่อนหน้า เราสามารถเปรียบการออกแบบฐานข้อมูลได้กับการเลือกหรือการกำหนดเอ็นทิตี้ แอทริบิว และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ระหว่างเอ็นทิตี้ แต่ก่อนที่จะเริ่มกำหนดสิ่งต่าง ๆ ข้างต้น ผู้ออกแบบข้อมูลควรจะเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของข้อมูลในองค์กร วิธีในการเรียกใช้ข้อมูล ช่วงเวลาที่มีการเรียกใช้ข้อมูล และยังรวมถึงเข้าใจภาพรวมและวิธีการดำเนินธุรกิจอย่างถ่องแท้ ข้อมูลในฐานข้อมูลจะเป็นข้อมูลที่มีความหมายก็ต่อเมื่อข้อมูลเหล่านั้นสามารถสะท้อนถึงกฎเกณฑ์ทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม กฎเกณฑ์ทางธุรกิจมักจะสั้น ๆ กะทัดรัด และมีคำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวนโยบาย ขั้นตอน หรือหลักการขององค์กร
กฎเกณฑ์ทางธุรกิจที่ถูกกำหนดไว้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมจะถูกใช้ในการกำหนดส่วนประกอบต่าง ๆ ของแบบจำลองฐานข้อมูลซึ่งก็คือ เอ็นทิตี้ แอทริบิว ความสัมพันธ์และข้อจำกัดต่าง ๆ แต่ในทางกลับกันเมื่อ เราทำการพิจารณาถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ในฐานข้อมูล อาทิเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างแอนทิตี้ - พนักงานขาย สามารถดูแลลูกค้าได้หลายคน และลูกค้าจะถูกดูแลโดยพนักงานขายเพียงคนเดียว – จะทำให้เราทราบถึง กฎเกณฑ์ทางธุรกิจด้วยเช่นกัน
กฎเกณฑ์ทางธุรกิจที่จะช่วยให้สามารถกำหนดเอ็นทิตี้ แอทริบิว ความสัมพันธ์ และข้อจำกัดได้อย่างมี ประสิทธิภาพจะต้องเข้าใจง่ายและมีการตีความที่เหมือนกัน ดังแสดงในตัวอย่างดังต่อไปนี้
·       ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าได้หลายครั้ง
·       ใบสั่งซื้อสินค้าจะเกิดจากลูกค้าคนหนึ่ง ๆ สั่งซื้อสินค้า
·       การเปิดอบรมจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีพนักงานเข้าร่วมอยู่ระหว่าง 10 – 30 คน
กฎเกณ์ฑ์ทางธุรกิจข้างต้นจะใช้ในการกำหนดเอ็นทิตี้ ความสัมพันธ์ และข้อจำกัดได้ดังนี้
·       สำหรับ 2 กฎเกณฑ์ทางธุรกิจแรกจะสามารถใช้ในการกำหนด 2 เอ็นทิตี้ คือ ลูกค้าและใบสั่งซื้อสินค้า โดยทั้งสองเอ็นทิตี้นี้จะมีความสันพันธ์กันแบบ 1:M
·       สำหรับกฎเกณฑ์ทางธุรกิจสุดท้ายจะสามารถใช้ในการกำหนด 2 เอ็นทิตี้ คือ พนักงานและการอบรม และยังสามารถใช้กำหนดข้อจำกัดของเอ็นทิตี้การอบรมที่ซึ่งการอบรมครั้งหนึ่ง ๆ จะต้องมีพนักงานเข้าร่วมระหว่าง 10 – 30 คน ตามลำดับ
กำรปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ทำงธุรกิจไปเป็นส่วนประกอบของแบบจำลองข้อมูล 
หลังจากเราได้รับกฎเกณฑ์ทางธุรกิจจากการสัมภาษณ์พนักงานระดับต่าง ๆ ในองค์แล้วขั้นตอนต่อไป เราจะต้องทำการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ทางธรุกิจไปเป็นเอ็นทิตี้ แอทริบิว ความสัมพันธ์ และข้อจำกัดต่าง ๆ โดย การปรับเปลี่ยนคำนาม คำนามที่ปรากฏอยู่ในแต่ละกฎทางธุรกิจให้เป็นเอ็นทิตี้ของแบบจำนวนลองข้อมูล และทำการปรับเปลี่ยนคำกริยาที่เกี่ยวข้องกับคำนามที่ปรากฏก่อนหน้าไปเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ ตัวอย่างเช่น กฎทางธุรกิจ “ลูกค้าคนหนึ่ง ๆ สามารถเขียนใบสั่งของได้หลายใบ” ที่จะประกอบไปด้วย 2 คำนาม คือ ลูกค้าและใบสั่งของ และคำกริยา 1 คำ คือ เขียน ตามลำดับ จากกฎทางธุรกิจดังกล่าว เราสามารถสรุปได้ ว่า
1) ลูกค้าและใบสั่งของจะเป็นวัตถุที่เราสนใจและสามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นเอ็นทิตี้ได้ และ
2) “เขียน” จะ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับใบสั่งสินค้า
ในการที่จะระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นทิตี้ เราจะต้องทำการพิจารณาความสัมพันธ์ทั้งสองด้าน (bidirectional relationship) ตัวอย่างเช่น กฎทางธุรกิจ “ลูกค้าคนหนึ่งๆสามารถเขียนใบสั่งของได้หลายใบ” จะมีส่วนเติมเต็มอีกกฎทางธุรกิจหนึ่ง คือ “ใบสั่งสินค้าใบหนึ่งๆจะถูกเขียนโดยลูกค้าคนหนึ่ง ๆ เท่านั้น” จากกฎทางธุรกิจทั้งสองจะทำให้เราสามารถพิจารณาความสัมพันธ์ได้ทั้งสองด้านของเอ็นทิตี้ลูกค้าและเอ็นทิตี้ใบสั่งได้ โดยรูปแบบความสัมพันธ์จะเป็นแบบ 1:M ด้วยเหตุนี้ การระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่าง 2 เอ็นทิตี้ A และ B ใด ๆ ก็ตามเราควรที่จะต้องตั้งคำถาม 2 คำถาม คือ
1) มีข้อมูลในเอ็นทิตี้ A เป็นจำนวนเท่าไร ที่มีความสัมพันธ์ กับข้อมูลหนึ่งๆในเอ็นทิตี้ B ? และ
2) ข้อมูลในเอ็นทิตี้ B เป็นจำนวนเท่าไร ที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลหนึ่ง ๆ ใน เอ็นทิตี้ A ? ตามลำดับ

การตั้งชื่อ 
ระหว่างการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ทางธุรกิจให้เป็นเอ็นทิตี้ แอทริบิว ความสัมพันธ์ และข้อจำกัดต่างๆ ขั้นตอนการทำงานจะรวมถึงขั้นตอนการตั้งชื่อวัตถุต่าง ๆ ที่ซึ่งจะทำให้วัตถุที่เราทำการพิจารณามีความเป็น เอกลักษณ์และแตกต่างจากวัตถุอื่น ๆ ในขอบเขตของปัญหาที่เราพิจารณา ดังนั้น เราควรจะต้องเอาใจใส่กับ วิธีการในการตั้งชื่อวัตถุต่าง ๆ ที่เราจะทำการพิจารณา
ชื่อของเอ็นทิตี้ควรจะสามารถอธิบายได้ถึงวัตถุที่เราสนใจและควรที่จะใช้คำศัพท์ที่ผู้งานระบบ ฐานข้อมูลคุ้นเคย ในส่วนของการตั้งชื่อแอทริบิวก็ควรที่จะสามารถอธิบายได้ถึงข้อมูลเช่นกัน โดยเราอาจทำ การตั้งชื่อด้วยคำนำหน้าของแอทริบิวหรือคำย่อของแอทริบิวนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ในเอ็นทิตี้ CUSTOMER จะมี ข้อมูลที่บ่งบอกถึงเครดิตที่ลูกค้าได้รับ (customer’s credit limit) ดังนั้น เราอาจทำการตั้งชื่อด้วยการนำคำ นำหน้าของเอ็นทิตี้มารวมกับข้อมูลหลักที่สำคัญได้เป็น “CUS_CREDIT_LIMIT” ที่ซึ่งจะทำให้เราสามารถ เข้าใจความหมายได้โดยง่าย การตั้งชื่อที่เหมาะสมจะเป็นการช่วยพัฒนาให้แบบจำลองที่เราสร้างขึ้นมี ความสามารถในการสื่อสารกันระหว่างผู้ออกแบบฐานข้อมูล ผู้เขียนโปรแกรม และผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลได้ดี ยิ่งขึ้น
แบบจำลองแบบลำดับชั้นและแบบจำลองแบบเครือข่าย 
แบบจำลองแบบลำดับชั้น (hierarchical model) ถูกพัฒนาขึ้นในยุค 1960 เพื่อจัดการกับข้อมูล ปริมาณมาก ๆ ของโครงการผลิตที่มีความซับซ้อน อาทิ เช่น จรวดอพอลโลที่ลงจอดบนดวงจันทร์ในปี 1969 โครงสร้างพื้นฐานของแบบจำลองแบบลำดับชั้นจะสามารถแสดงได้ด้วย upside-down tree และโครงสร้างลำดับชั้นจะประกอบด้วยลำดับชั้นต่าง ๆ (level หรือ segment) ที่ซึ่งจะเหมือนกับชนิดของเรคคอร์ดในระบบ แฟ้มข้อมูล โดยลำดับชั้นหนึ่งๆอาจประกอบไปด้วยหลาย segment ที่ซึ่ง segment ที่อยู่ระดับบนจะถูก เรียกว่า parent แต่ segment ที่อยู่ถัดลงมาจะเรียกว่า children ของ parent (หมายเหตุ parent หนึ่ง ๆ สามารถมีได้หลาย child แต่ในทางกลับกัน child หนึ่งๆจะสามารถมีได้เพียง parent เดียว)
แบบจำลองแบบเครือข่าย (network model) ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของความสัมพันธ์ของ ข้อมูลที่มีความซับซ้อน แนวคิดสำหรับการพัฒนาแบบจำลองแบบเครือข่ายก็เพื่อที่จะพัฒนาประสิทธิภาพการ ทำงานให้เหนือกว่าแบบจำลองแบบหลายลำดับชั้น โดยจะมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของ ฐานข้อมูลและการกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ของฐานข้อมูล

แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์
แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (relational model) ถูกพัฒนาขึ้นโดย E. F. Codd ในช่วงทศวรรษ 1970 ที่ซึ่งจะสามารถลดปัญหาและอุปสรรคของการสื่อสารระหว่างผู้ออกแบบและผู้ใช้งานระบบฐานข้อมูล โดยแนวความคิดพื้นฐานของแบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะเป็นแนวคิดทางคณิตศาสตร์เรื่องความสัมพันธ์ (relation) ที่ซึ่งเราสามารถพิจารณาความสัมพันธ์เป็นเมทริกซ์หรือตารางของข้อมูลที่ประกอบไปด้วยการ รวมกันระว่างแถว (rows) และ คอลัมน์ (columns) แต่ละแถวของตารางจะถูกเรียกว่า tuple และแต่ละ คอลัมน์จะถูกแทนด้วยแอทริบิวต่าง ๆ
การสร้างแบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะสามารถดำเนินการผ่านระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (relational database management system, RDBMS) ที่ซึ่งจะมีความซับซ้อนค่อนข้างสูง RDBMS จะสามารถดำเนินการฟังก์ชั่นพื้นฐานได้เหมือนกับระบบจัดการฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นและแบบเครือข่าย แต่ RDBMS จะมีการเพิ่มเติมประโยชน์ที่ค่อนข้างสำคัญ คือ ความสามารถในการปิดบังความซับซ้อนของ แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์จากผู้ใช้งานฐานข้อมูล โดย RDBMS จะจัดการเกี่ยวกับการทำงานเชิงกายภาพ ทั้งหมด (ขั้นตอนการจัดเก็บและเรียกดูข้อมูลทั้งหมด) ที่ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานจะมองเห็นฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เป็นเพียงกลุ่มของตารางข้อมูลที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น และเมื่อไรก็ตามที่ผู้ใช้ต้องการที่จะดำเนินการ กับข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม ลบ และแก้ไขข้อมูล ก็จะสามารถทำได้โดยง่ายผ่านการเรียกใช้คิวรี
แบบจำลองข้อมูลความสัมพันธ์เอ็นทิตี้ 
ถึงแม้ว่าแบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะถูกพัฒนาเพื่อปรับปรุงการทำงานของแบบจำลองแบบลำดับ ชั้นและแบบเครือข่าย แต่อย่างไรก็ตามแบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ยังขาดเค้าโครงที่จะทำให้การสร้าง เครื่องมือสำหรับออกแบบฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยเนื่องจากการแสดงโครงสร้างของ แบบจำลองด้วยแผนภาพจะทำให้ผู้ออกแบบและผู้ใช้งานฐานข้อมูลสามารถเข้าใจแบบจำลองข้อมูลได้ง่ายกว่า การใช้ตัวอักษร ด้วยเหตุนี้ แบบจำลองความสัมพันธ์เอ็นทิตี้ (entity relationship (ER) model, ERM) ได้ถูก คิดค้นและถูกใช้เป็นภาษาฐานในการสร้างแบบจำลองข้อมูลสำหรับการออกแบบฐานข้อมูล
แบบจำลองความสัมพันธ์เอ็นทิตี้ถูกคิดค้นในปี 1976 โดย Peter Chen ที่ซึ่งจะใช้แผนภาพในการ แสดงถึงเอ็นทีตี้และความสัมพันธ์ต่างๆในโครงสร้างของฐานข้อมูล แบบจำลองความสัมพันธ์จะมักจะแสดงอยู่ ในรูปของแผนผังความสัมพันธ์เอ็นทีตี้ (entity relationship diagram, ERD) ที่ซึ่งจะเป็นแผนภาพที่จะแสดง ส่วนประกอบต่าง ๆ ของแบบจำลองข้อมูล แบบจำลองความสัมพันธ์เอ็นทิตี้จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
·       เอ็นทิตี้ – จะเป็นส่วนที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูล เอ็นทิตี้ใน ERD จะถูกแสดงด้วยสี่เหลี่ยมและชื่อของ เอ็นทิตี้มักจะถูกเขียนด้วยตัวอักษรใหญ่อยู่ตรงกลางสี่เหลี่ยม แต่ละเอ็นทิตี้จะสามารถอธิบายได้ด้วย เซตของแอทริบิวที่บ่งบอกถึงคุณลักษณะของเอ็นทิตี้นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น เอ็นทิตี้พนักงานจะมีแอทริบิว รหัสพนักงาน หมายเลขบัตรประชาชน ชื่อ และนามสกุลเป็นคุณลักษณะหรือข้อมูลที่บ่งบอกถึงตัวตน ของพนักงานคนหนึ่ง ๆ เมื่อเราทำการประยุกต์ใช้ ERD เอ็นทิตี้จะแสดงถึงตารางข้อมูลที่มีการ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ โดยแต่ละแถวในตารางจะเป็นค่าข้อมูลจริง (entity instance หรือ entity occurrence)
·       ความสัมพันธ์ - จะเป็นสิ่งที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์หรือการเชื่อมโยงกันของข้อมูล ความสัมพันธ์ส่วนใหญ่จะใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ของ 2 เอ็นทีตี้ที่ซึ่งจะแสดงผ่านความสัมพันธ์ ทั้งแบบ one-to-many (1:M), many-to-many (M:M) และ one-to-one (1:1) ตามลำดับ ใน แบบจำลองข้อมูลความสัมพันธ์เอ็นทิตี้จะมีการกำหนดชื่อความสัมพันธ์เพื่อแสดงถึงการกระทำ (action) ที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเอ็นทิตี้ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น จิตรกรเขียนภาพ พนักงานเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ หรือ พนักงานจัดการร้านค้าสาขาต่าง ๆ เป็นต้น
แบบจำลองข้อมูลเชิงวัตถุ 
แบบจำลองข้อมูลเชิงวัตถุ (object-oriented data model, OODM) จะทำการจัดเก็บข้อมูลและ ความสัมพันธ์ต่างๆของข้อมูลไว้ใน object  ในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ OODM จะทำการประยุกต์ใช้ระบบ จัดการฐานข้อมูลเชิงวัตถุ (object-oriented database management system, OODBMS) ที่ซึ่งจะท าให้ เราสามารถจัดเก็บและเรียกดูข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
OODM จะมีแนวทางในการกำหนดและใช้เอ็นทิตี้ที่แตกต่างจากแบบจำลองข้อมูลอื่น ๆ โดย object หนึ่ง ๆ จะถูกอธิบายได้ด้วยข้อเท็จจริงหนึ่ง ๆ และยังทำการจัดเก็บความสัมพันธ์ระหว่าง object ที่พิจารณากับ object อื่น ๆ อีกด้วย โดยการจัดเก็บข้อเท็จจริงใน object จะทำให้เราทราบถึงความหมายได้มากขึ้นและ สามารถแสดงถึงข้อมูลที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เราจึงได้สามารถกล่าวได้ว่า OODM จะเป็นแบบจำลองข้อมูลที่แสดงความหมาย (semantic data model) เนื่องจากการที่เราได้รับทราบ ความหมายที่มากขึ้นนั่นเอง นอกจากนั้น OODM ได้มีการพัฒนาให้ object หนึ่ง ๆ สามารถบรรจุไปด้วยการ ดำเนินการทั้งหมดที่สามารถเกิดขึ้นได้กับ object ได้ แบบจำลองเชิงวัตถุจะประกอบไปด้วยส่วนย่อยต่าง ๆ
แบบจำลองเชิงสัมพันธ์ที่ถูกพัฒนาเพิ่มเติม 
เนื่องจากข้อมูลต่าง ๆ มีความซับซ้อนมากขึ้นตามยุคสมัย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ผลิตซอร์ฟแวร์ระบบ จัดการฐานข้อมูลมีแนวคิดที่จะพัฒนาขีดความสามารถของแบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์เพิ่มเติม (extended relational data model, ERDM) ที่ซึ่งจะทำการเพิ่มคุณลักษณะบางประการของแบบจำลองเชิงวัตถุเพื่อทำ ให้ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์สนับสนุนการทำงานเชิงวัตถุ เช่น object การขยายชนิดของข้อมูลภายใต้ แนวความคิดของคลาสและ inheritance เป็นต้น จากการพัฒนาข้างต้นจึงเป็นเหตุให้มีผู้คนให้ความสนใจกับ ระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงวัตถุ/สัมพันธ์ (object/relation database management system, O/R DBMS) มากขึ้น นอกจากนั้น O/R DBMS ยังจะสามารถสนับสนุนการทำงานร่วมกับเอกสาร  XML (eXtensible Markup Language - เป็นมาตราฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง กึ่งโครงสร้าง และแบบมี โครงสร้าง ที่ซึ่งจะทำให้เราสามารถเชื่อมต่อระบบที่ใช้กับระบบต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างทางด้านสถาปัตยกรรม ของระบบได้
สรุปเกี่ยวกับแบบจำลองข้อมูล 
วิวัฒนาการของระบบจัดการฐานข้อมูลยังคงมีอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังคงมีความต้องการที่จะมี วิธีการสร้างแบบจำลองใหม่ ๆ ที่ซึ่งสามารถเพิ่มการรองรับข้อมูลที่มีความซับซ้อน โดยบทสรุปของแบบจำลอง ข้อมูลที่ถูกคิดค้นและถูกใช้งานกันอย่างกว้างขวาง
·       แบบจำลองข้อมูลจะต้องสามารถแสดงถึงระดับของความง่ายของกรอบความคิดโดยไม่สูญเสียความ ครบถ้วนของความหมายของฐานข้อมูล มันอาจจะไม่ถูกต้องนักถ้าเรามีแบบจำลองข้อมูลที่ให้กรอบ ความคิดที่ค่อนข้างยากกว่าความเป็นจริง
·       แบบจำลองจะต้องสามารถให้กรอบความคิดที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เป้าหมาย นี้จะสามารถทำได้โดยการเพิ่มความหมาย (semantic) ให้กับการแสดงถึงข้อมูลให้มากขึ้น (ความหมายจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของข้อมูล)
·       การทำการเปลี่ยนแปลง/เปลี่ยนรูปข้อมูลจะต้องเป็นไปตามกฎความสอดคล้องและความสมบูรณ์ของ ข้อมูล
การคิดหรือออกแบบแบบจำลองข้อมูล ณ ปัจจุบันจะมุ่งเน้นที่การแก้ไขจุดด้วยของแบบจำลองก่อน หน้า โดยแบบจำลองข้อมูลแบบเครือข่ายถูกคิดค้นเพื่อแทนที่แบบจำลองข้อมูลแบบลำดับชั้น โดยแบบจำลอง ข้อมูลแบบเครือข่ายจะสามารถทำการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนให้มีความง่ายมากขึ้น ในทางกลับกัน แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะมีประโยชน์ที่มากกว่าแบบจำลองแบบเครือข่ายในหลาย ๆ แง่มุม เช่น การแสดง ข้อมูลด้วยวิธีการที่ง่าย การลดทอนความไม่สอดคล้องของข้อมูล และการประยุกต์ใช้ภาษาคิวรีในการเข้าถึง และจัดการกับข้อมูล แบบจำลองเชิงวัตถุได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการกับข้อมูลที่มีความซับซ้อนภายใต้ แนวความคิดของการจัดการเกี่ยวกับความหมายของข้อมูล ขณะที่แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงวัตถุจะเป็น แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ที่มีการเพิ่มเติมแนวความคิดเชิงวัตถุ ที่ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดการกับข้อมูลที่มี ความซับซ้อนได้และยังสามารถสนับสนุนการทำงานร่วมกับ XML ได้อีกด้วย จากที่กล่าวข้างต้นเราสามารถ สรุปเกี่ยวกับข้อดี – เสียของแบบจำลองต่างๆ



เขียนโดย  1.นายธันญารัตน์       ทองน้อย            
                 2.นางสาวนภัสวรรณ   ประสารศรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Chapter 1

Accounting Information System and The Accountant ภาพที่ 1 ระบบ สารสนเทศ ทางการบัญชี ที่มา : http://blog.vzmart.com ...