Chapter 4

AIS and Business Processes: Part II
   ภาพที่ 1 ระบบสารสนเทศทางบัญชี
ที่มา :www.google.com/search?tbm=isch&sxsrf

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี เป็นระบบบนคอมพิวเตอร์ที่รวบรวม จัดเก็บ ประมวลผลและนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชี เป็นระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้สารสนเทศมีทั้งผู้ใช้ภายในองค์กรและภายนอกองค์กร

ระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบที่สำคัญคือ
             1.       ระบบบัญชีการเงิน Financial Accounting System (ไฟแนนเชียล-อะเคาทิง-ซิสเทิม) คือ ระบบที่ต้อจัดทำตามมาตรฐานการบัญชี เป็นระบบประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีเริ่มตั้งแต่ การรวบรวมเอกสารขั้นต้นซึ่งเป็นเอกสารเกี่ยวกับรายการค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมาบันทึกรายการ จนถึงการออกรายงานงบการเงิน ระบบบัญชีการเงินมีวัตถุประสงค์หลักคือ นำเสนอแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจซึ่งมีทั้งภายนอกและภายในองค์กร ผู้ใช้ภายนอกองค์กร เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้น ผู้ใช้ภายในองค์กร เช่น ผู้บริหาร ฝ่ายการเงิน
              2.       ระบบบัญชีบริหาร Managerial Accounting System (แมนนิเจอเรียล-อะเคาทิง-ซิสเทิม) คือ ระบบที่ไม่ได้มีรูปแบบรายงานที่ตายตัว รายงานจากระบบบัญชีบริหารมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้ตรงตามความต้องการของการใช้งานได้ นำเสนอข้อมูลที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ระบบบัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลแก่ ผู้ใช้ภายในองค์กร เช่น ผู้บริหาร รายงานของระบบบัญชีบริหารประกอบด้วย บัญชีต้นทุน รายงานงบประมาณ เป็นต้น

หน้าที่ของระบบสารสนเทศทางการบัญชี
              1.       การรวบรวมข้อมูล
              2.       การประมวลผลข้อมูล
              3.       การจัดการข้อมูล
              4.       การควบคุมข้อมูลและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
              5.       การจัดทำสารสนเทศ
     ดังนั้นระบบสารสนเทศทางการบัญชีจึงเป็นระบบที่มีหน้าที่ประมวลผลข้อมูล และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ และระบบสารสนเทศทางการบัญชีสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบที่สำคัญ คือ ระบบบัญชีการเงิน และระบบบัญชีบริหาร

กระบวนการทางธุรกิจ (Business process)
    เริ่มจากการที่เจ้าของนำเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นมาลงทุนในธุรกิจ
ถ้าเงินสดมีไม่เพียงพอ อาจต้องกู้เพิ่มจากเจ้าหนี้ จากนั้นจึงเริ่มเอาเงินไปซื้อที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ต่างๆ
ที่จะต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจหรืออาจใช้วิธีการเช่าแทนการซื้อก็ได้ เมื่อกิจการเริ่มดำเนินการ
ลักษณะของการดำเนินการเงินจะขึ้นอยู่กับธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การค้าขาย หรือการใช้บริการ
โดยจะมีรายได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นขณะดำเนินการธุรกิจ เมื่อรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายจะเกิดเป็นผลกำไร
แต่ถ้าค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้จะเกิดเป็นผลขาดทุน

โดยทั่วๆ ไปการดำเนินธุรกิจจะมีอยู่ 3 ประเภทคือ
             1.  กิจการให้บริการ (Service Firm) กิจการให้บริการจะมีรายได้หลัก คือ ค่าธรรมเนียม 
     ค่าบริการรับ รายจ่ายหลัก คือ เงินเดือนพนักงาน ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าเช่า ค่าสาธารณูปโภค และอื่นๆ 
     รายจ่ายในกิจการให้บริการถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นในกิจการให้บริการคือ
    การวัดผลการดำเนินงาน ลักษณะของผลิตภัณฑ์จะไม่เห็นเป็นตัวตนที่ชัดเจน ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ 
    เช่น โรงพยาบาล สำนักงานกฎหมาย  บริษัทที่ปรึกษา เป็นต้น
             2.  กิจการซื้อมาขายไป (Merchandising Firm) หมายถึง กิจการที่ซื้อขายสินค้าทั้งขายส่งและขายปลีก
โดยไม่ใช่ผู้ผลิต รายได้หลักของกิจการ คือ เงินที่ขายสินค้าได้ ค่าใช้จ่าย 
จำแนกเป็น 2 ส่วน คือ 
      ต้นทุนสินค้าขาย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ตัวอย่าง ของธุรกิจประเภทนี้ เช่น ห้างสรรพสินค้า 
       ร้านขายยา ร้านขายของชำ เป็นต้น
            3.  กิจการผลิต (Manufacturing Firm) กิจการผลิตส่วนใหญ่จะมีโรงงานสำหรับผลิตสินค้า
รายได้หลัก คือ เงินที่ได้จากการขายสินค้า ค่าใช้จ่าย คือ ต้นทุนในการซื้อ
วัตถุดิบ ค่าจ้างคนงาน
และค่าใช้จ่ายในขบวนการผลิต ค่าใช้จ่ายทั้งสามส่วนนี้จะรวม
เป็นต้นทุนสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
ในสำนักงานจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขาย
และบริหาร

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
      การบริหารงานหรือบริหารองค์กรมนุษย์ถือเป็นทรัพยากรสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนกระบวนการทำงาน
ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า
มากที่สุด ผู้บริหารจึงต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารคนให้ได้งานหรือบริหารงานให้เหมาะกับ
ตัวบุคคล
      การจัดการทรัพยากรมนุษย์ คืออะไร?
      การการบริหารงานบุคคลเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการ
จะต้องมีความรู้ความเข้าใจก่อนว่า การจัดการทรัพยากรมนุษย์ คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
ต่อการบริหารองค์กร
   การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคน การคัดเลือกบุคคล
เข้าทำงาน การจัดวางตำแหน่งของบุคคลให้เหมาะสมกับงานตลอดจนการจัดสวัสดิการการจ่ายเงินเดือนหรือค่าตอบแทน การพิจารณาบทบาทหน้าที่และการควบคุมการทำงานของบุคลากรให้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งกระบวนการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 
     1.  ระยะการคัดเลือกหรือได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ ในกระบวนการนี้มีกิจกรรมสำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่
           1.1   ขั้นตอนการวางแผน เริ่มจากกำหนดอัตรากำลังทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การคำนวณจำนวนบุคลากรที่จะรับตามกรอบอัตรากำลัง การจัดทำประวัติบุคลากร การประเมินความเปลี่ยนแปลงของอัตรากำลัง เช่น ลาออก โอน ย้าย หรือเกษียณ และการวางแผนพัฒนาทรัพยากร เช่น ให้การศึกษาอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ
           1.2   ขั้นตอนการสรรหา เป็นการประกาศเชิญชวนผู้สนใจให้มาสมัคร และอาจสรรหาจากทรัพยากรภายในองค์การหรือภายนอกองค์การก็ได้ แต่ต้องให้เหมาะสมกับหน้าที่งาน กระบวนการสรรหาเริ่มจาก การสอบแข่งขัน การสัมภาษณ์ หรือวิธีการอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้
         1.3   ขั้นตอนการคัดเลือก วิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานจะมีหลายรูปแบบหลักๆมักจะเป็นการวัดความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้นๆ เช่น การตรวจสอบประวัติจากเอกสาร 
       การสัมภาษณ์ การทดสอบความรู้ การทดสอบภาคปฏิบัติ และการทดสอบทางจิตวิทยา
              1.4   การปฐมนิเทศ คือ การแนะนำให้เข้าใจวัฒนธรรมขององค์กรระบบการทำงาน

       2.  ระยะการควบคุมดูแลและรักษาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างปฏิบัติงานในองค์กร ประกอบด้วย 
     การประเมินผลงาน การจัดวางคน การฝึกอบรมและพัฒนา ระเบียบวินัย การบริหารค่าตอบแทนและ
    สวัสดิการ การช่วยเหลือให้คำปรึกษา การดูแลสุขภาพและความปลอดภัย ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้มีจุดประสงค์
    เพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์สามารถทำงานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
    ระยะสุดท้าย คือการพ้นจากงาน การจัดสวัสดิการตอบแทนหลังเกษียณหรือการพ้นจากงานในกรณีอื่นๆเช่นการเลิกจ้าง

ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
            1. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการบริหารองค์กร เพราะ 
      ทรัพยากรมนุษย์จะเป็นผู้สร้างสรรค์และขับเคลื่อนงานขององค์กรให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย 
      ดังนั้นการจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญกับการบริหารองค์กร ดังนี้
            2. ทำให้องค์กรมีทรัพยากรบุคคลทำงานที่เพียงพอและต่อเนื่อง
            3. เป็นการเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรบุคคลให้ทำงานได้ ทำงานเป็น และ ทำงานได้สอดคล้องกับ
      การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ในการบริหารองค์การ
           4.ช่วยสร้างความเจริญเติบโตมั่นคงให้แก่องค์การ เพราะ การบริหารทรัพยากรมนุษย์จะทำให้ได้
     บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
           5.  ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร
           6. เป็นการกระตุ้นให้บุคลากรตื่นตัวที่จะเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ
           7. ช่วยสร้างความมั่นคงให้แก่สังคม ช่วยส่งเสริมให้บุคลากรมีคุณภาพ มีงานทำ และทำให้
     ประเทศชาติพัฒนา
           8. ทำให้มีการบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการแก่บุคลากรอย่างเหมาะสม
           9.ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ปฎิบัติงานและฝ่ายผู้บริหารเพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ดี
    ในการทำงาน และเป็นการลดความขัดแย้งและกรณีพิพาทต่างๆ ที่จะส่งผลลบต่อองค์กร
         10.ทำให้เกิดการประเมินผลงานของบุคลากรที่เหมาะสมและสนับสนุนคนทำงานดีมีคุณภาพ  
    ให้ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
         11.ช่วยให้พนักงานในองค์กรได้ค้นพบศักยภาพของตนเอง และพัฒนาตนเองให้มีความสามารถ
    เชิงสมรรถนะในการปฏิบัติงานได้อย่าวงเต็มที่

วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
      การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะช่วยขยายบทบาทหน้าที่งานด้าน
ทรัพยากรมนุษย์ให้มีขอบข่ายของการปฎิบัติที่กว้างขึ้น เพื่อครอบคลุมดูแลการปฎิบัติภารกิจต่างๆ 
ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรและองค์การ ดังนี้
           1.  เพื่อช่วยให้บุคลากรใช้ทักษะ ความรู้ ความสามารถปฎิบัติงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      และประสิทธิผล
           2.  เพื่อช่วยองค์การดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
           3.  เพื่อช่วยคัดสรรบุคลากรที่มีคุณภาพ และมีแรงจูงใจใฝ่หาผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับสูง
     เข้ามาปฎิบัติงาน
           4.  เพื่อยกระดับความสามารถ และสร้างความพึงพอใจในการปฎิบัติงานของบุคลากร
           5.  เพื่อพัฒนา และธำรงรักษาบุคลากรที่มีคุณค่าให้ปฎิบัติงานในระดับที่พึงปราถนาขององค์การ
    นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมยังสามารถตอบสนอง
ความต้องการในระดับต่างๆ ได้ดังนี้
            1. สนองความต้องการระดับสังคม  (Society’s Requirment)  โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่สังคมจะ
ได้รับ ให้บุคลากรทุกคนมีความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม มีงานทำมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ 
ตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นผู้นำที่ปฏิบิติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ต้องการของสังคม
           2.สนองความคาดหวังระดับการบริหารขององค์การ (Management’s ) ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
องค์การมีความคาดหวังที่จะได้บุคลากรที่มัศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง 
ซึ่งจะส่งผลทำให้องค์การเจริญเติบโตก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นงานด้ายการบริหาร
ทรัพยากรมนุษย์ จึงต้องตระหนักภาระหน้าที่ที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดคนเข้าทำงาน 
โดยดูแลตั่งแต่ก่อนเข้าปฏิบัติงาน ระหว่างปฏิบัติงาน และหลังปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความมั่นใจ 
ความสรัทธา ให้แก่บุคลากรทุกคนที่จะเข้ามาร่วมงาน และสร้างความแข็งแกร่งให้องค์การต่อไป
          3.สนองความต้องการระดับผู้ปฏิบัติงาน (Employee’s Need) องค์การจะต้องตระหนักเสมอว่า
บุคลากรหรือผู้ปฏิบัติงานทุกคนต่างมุ่งหวังที่จะมีวิธีการดำรงชีวิตที่ดีในสังคม ครอบครัวมีความสุข 
สังคมยอมรับยกย่อง และมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ดังนั้น ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์
จึงไม่ควรละเลยต่อความต้องการพื้นฐานที่บุคลากรทุกคนควรจะได้รับ เพราะ 
สิ่งเหล่านี้จะย้อนกลับมาสร้างความเจริญเติบโตให้แก่องค์การในท้ายที่สุด
การจัดการทรัพยากรมนุษย์
                                  ภาพที่ 2 การจัดการทรัพยากรมนุษย์

ระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
      การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นระบบ ที่เรียกว่า  (HRD as a System)  ซึ่งประกอบด้วย
ส่วนประกอบที่สำคัญ  3  ส่วน  คือ
      1. ปัจจัยนำเข้า (Input)  ได้แก่  ความรู้  ทักษะ  บุคลิกภาพ  แนวคิด  พฤติกรรม  เป็นต้น
      2. กระบวนการแปรสภาพ (Process)  ได้แก่  การศึกษา  การฝึกอบรม และการพัฒนา เป็นต้น
      3.  ปัจจัยนำออก (Output)  ได้แก่  การพัฒนาทางด้านความรู้  ทักษะ  บุคลิกภาพ  ความคิด และพฤติกรรม

การศึกษา (Education) กับการฝึกอบรม (Training)
       การศึกษากับการฝึกอบรมมีข้อแตกแต่งกัน คือ  การศึกษาเป็นการให้ความรู้ทั่ว ๆไป โดยสถาบันการศึกษา และเน้นที่จะให้บุคคลที่รับการศึกษา มีความรู้  ความสามารถที่จะประกอบอาชีพตามสาขาที่ตนถนัดและศึกษา  โดยมีระยะเวลาการศึกษาที่ต่อเนื่องและยาวนานกว่าการฝึกอบรม
      ส่วนการฝึกอบรมนั้น จะเป็นกระบวนการที่จัดขึ้นมาเพื่อเพิ่มพูนทักษะการทำงาน  ความรู้ และพฤติกรรมของผู้เข้าอบรมให้เป็นในทิศทางที่ผู้จัดอบรมต้องการ
การพัฒนา (Development) กับการฝึกอบรม(Training)
       การพัฒนากับการฝึกอบรมจะมีความคล้ายคลึงกัน  นั้นคือ ทั้งการพัฒนา และการฝึกอบรม 
มีเป้าหมาย เพื่อมุ่งเน้นส่งเสริมให้บุคลากรต่าง ๆ ขององค์กร มีความรู้ ความสามารถ  
และมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น
      **การพัฒนา  เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้รับการพัฒนามีการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน 
ในอนาคต  โดยมุ่งเป้าระยะยาว และมักจะเน้นกับบุคลากรระดับหัวหน้างานขึ้นไป
    **การฝึกอบรม  เป็นกิจกรรมที่มักจะมุ่งเน้นให้ผู้ได้รับการอบรม ได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็น
สำหรับงานในปัจจุบัน  โดยมักเน้นเป้าหมายระยะสั้น ๆ  และมักเน้นกับพนักงานระดับปฏิบัติการ
      **ถ้ามองในด้านเศรษฐศาสตร์แล้ว การพัฒนาจะเป็นด้าน Macro  ส่วนการฝึกอบรมจะเป็น
ด้าน Micro เพราะถ้าดูให้ดี จะเห็นว่า การฝึกอบรม เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนาบุคลากร
การบริหารค่าตอบแทน
  ความสำคัญของค่าตอบแทน
       1. ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำไปแลกเปลี่ยน   เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง
       2. ค่าตอบแทน   เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความภูมิใจ   ทำให้เห็นว่าตนเอง
มีคุณค่าทางสังคมและเป็นที่ยอมรับ
       3. ค่าตอบแทนมีผลโดยตรงต่อการทำงานว่าสามารถทำงานให้ดีขึ้นหรือแย่ลง   
เป็นสิ่งที่ผู้บริหารควรคำนึงถึง 
   ค่าตอบแทน  ที่ออกมาในรูปตัวเงินเรียกว่า ค่าจ้าง จะมองได้  2  ทัศนะ  ดังนี้
        1. ทัศนะของนายจ้าง   ค่าจ้างถือเป็นต้นทุนที่สำคัญในธุรกิจ   และเป็นรายจ่ายที่สำคัญ
ในการดำเนินธุรกิจ
        2. ทัศนะของลูกจ้าง   ค่าจ้างเป็นสิ่งที่พนักงานต้องการ   การประกอบอาชีพประเภทเดียวกัน
ในทัศนะของลูกจ้างควรได้รับเท่าเทียมกันและสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้ 
             เงินเดือน   หมายถึง   จำนวนเงินที่บุคคลได้รับจากการปฏิบัติงานเป็นรายเดือน

วัตถุประสงค์ในการกำหนดค่าจ้างและเงินเดือน
1. การสรรหาบุคคลเข้าทำงาน
2. ควบคุมค่าใช้จ่าย
3. เพื่อจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ สินทรัพย์ถาวร
1.มีการทำงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายลงทุนซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการหรือ
เจ้าของกิจการ งบประมาณที่อนุมัติแล้วแจ้งให้แผนกต่อไปนี้ทราบ
    1.1 แผนกจัดซื้อหรือเจ้าหน้าที่จัดซื้อ
    1.2 แผนกวิศวกรรม
    1.3 แผนกบัญชี
2. การซื้อสินทรัพย์ถาวรแต่ละครั้งจะต้องดูว่า
    2.1 เป็นการจ่ายที่จำเป็น
    2.2 ราคาที่ขออนุมัติไม่มากหรือต่ำไป
    2.3 สินทรัพย์ที่จะซื้อมาแทนที่มีประโยชน์คุ้มกับเงินลงทุน
    2.4 ทางแผนกบัญชีได้มีการตั้งเจ้าหนี้ไว้ถูกต้อง
    2.5 มีการประมาณอายุการใช้งานอย่างเหมาะสม
3. ทะเบียนทรัพย์สินหรือบัญชีย่อย จะต้องแสดงสิ่งต่อไปนี้
    3.1 หมายเลขและสถานที่เก็บของแต่ละชิ้น
    3.2 อายุการใช้งาน และอัตราค่าเสื่อมราคา
    3.3 ราคาต้นทุน ค่าเสื่อมราคาสะสม ค่าเสื่อมราคาประจำปี และค่าเสื่อมราคาสะสมยกไป
    3.4 จำนวนรวมของแต่ละรายการ จะต้องเท่ากับบัญชีคุมยอด
4. ในกรณีที่มีทะเบียนหรือบัญชีย่อย ได้มีการตรวจสอบดังต่อไปนี้หรือไม่
    4.1 สินทรัพย์ได้มีการติดหมายเลขทะเบียน
    4.2 มีการตรวจนับว่าสินทรัพย์มีอยู่ตามทะเบียน
    4.3 ถ้าตรวจนับได้ไม่ครบให้ตรวจสอบทันที
5. นโยบายในการคำนวณค่าเสื่อมราคาได้กำหนดไว้อย่างแน่นอน
6. มีการแบ่งค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายของแผนกที่ใช้สินทรัพย์อย่างถูกต้อง
7. เมื่อคิดค่าเสื่อมราคาหมดแล้ว เพื่อให้เกิดการควบคุมภายในที่ดีให้เหลือราคาไว้ 1 บาท ไว้ในบัญชี
8. เครื่องมือเบ็ดเตล็ดจะต้องมีการควบคุมการจัดซื้อและการเบิกใช้
9. มีการประกันสำหรับสินทรัพย์ที่มีราคาสูงและจำนวนที่เอาประกันคุ้มกับราคาที่จะซื้อมาทดแทน
เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น
10. การจำหน่ายจากบัญชีหรือการเคลื่อนย้ายสถานที่ต้องมีการอนุมัติ
11. การจำหน่ายจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับสินค้า
12. มีการกำหนดนโยบายให้แน่ชัดเกี่ยวกับรายจ่ายเพื่อสินทรัพย์ถาวรและรายจ่ายในการซ่อมแซม
และบำรุงรักษา
ฟังก์ชันการจัดการสินทรัพย์ถาวร
                              ภาพที่ 3 ฟังก์ชันการจัดการสินทรัพย์ถาวร
                        
กระบวนการผลิต (production process)
         มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ อันได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (Input), กระบวนการแปลงสภาพ
 (Conversion Process) และผลผลิต (Output) โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
             1. ปัจจัยนำเข้า (Input) คือทรัพยากรขององค์การที่ใช้ผลิตทั้งที่เป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน 
        (Tangible Assets) เช่น วัตถุดิน เครื่องจักร อุปกรณ์ และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)     
        เช่น แรงงาน ระบบการจัดการ ข่าวสาร ทรัพยากรที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสม 
        และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เพื่อให้สินค้าสำเร็จรูปสามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ในท้องตลาด
              2. กระบวนการแปลงสภาพ (Conversion Process) เป็นขึ้นตอนที่ทำให้ปัจจัยนำเข้าที่ผ่านเข้ามามี
        การเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ได้แก่
       ·       รูปลักษณ์ (Physical) โดย การผ่านกระบวนการผลิตในโรงงาน
       ·       สถานที่ (Location) โดย การขนส่ง การเก็บเข้าคลังสินค้า
       ·       การแลกเปลี่ยน (Exchange) โดย การค้าปลีก การค้าส่ง
       ·       การให้ข้อมูล (Informational) โดย การติดต่อสื่อสาร
       ·       จิตวิทยา (Psychological) โดย การนันทนาการ ฯลฯ
             3.  ผลผลิต (Output) เป็นผลได้จากระบบการผลิตที่มีมูลค่าสูงกว่าปัจจัยนำเข้าที่รวมกัน
    อันเนื่องมาจากที่ได้ผ่านกระบวนการแปลงสภาพ ผลผลิตแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สินค้า (Goods) 
    และบริการ (Service)
กระบวนการผลิต
                                      ภาพที่ 4 กระบวนการผลิต
กระบวนการผลิต – การรับรองทางเทคโนโลยี
ระบบ ERP หมายถึงอะไร
        ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning หมายถึง การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร
โดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร
        ERP จึงเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร 
อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ERP จะช่วยทำให้การเชื่อมโยงทางแนวนอนระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต 
และการขายทำได้อย่างราบรื่น ผ่านข้ามกำแพงระหว่างแผนก และทำให้สามารถบริหาร
องค์รวมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด
       ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศขององค์กรที่นำแนวคิดและวิธีการบริหารของ ERP 
มาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กร ระบบ ERP สามารถบูรณาการ (integrate)รวมงานหลัก 
(core business process) ต่างๆ ในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี 
และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยงกันอย่าง real time

ลักษณะสำคัญของระบบ ERP คือ
1. การบูรณาการระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP
        จุดเด่นของ ERP คือ การบูรณาการระบบงานต่างๆ เข้าด้วยกัน ตั้งแต่การจัดซื้อ จัดจ้าง 
การผลิต การขาย บัญชีการเงิน และการบริหารบุคคล ซึ่งแต่ละส่วนงานจะมีความเชื่อมโยงในด้าน 
การไหลของวัตถุดิบสินค้า (material flow) และการไหลของข้อมูล (information flow) ERP 
ทำหน้าที่เป็นระบบการจัดการข้อมูล ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการงานในกิจกรรมต่างๆ 
ที่เชื่อมโยงกันให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด พร้อมกับสามารถรับรู้สถานการณ์และปัญหาของงานต่างๆ 
ได้ทันที ทำให้สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาองค์กรได้อย่างรวดเร็ว
2. รวมระบบงานแบบ real time ของระบบ ERP
        การรวมระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP จะเกิดขึ้นในเวลาจริง(real time) อย่างทันที 
เมื่อมีการใช้ระบบ ERP ช่วยให้สามารถทำการปิดบัญชีได้ทุกวัน เป็นรายวัน คำนวณ 
ต้นทุนและกำไรขาดทุนของบริษัทเป็นรายวัน
3. ระบบ ERP มีฐานข้อมูล(database) แบบสมุดลงบัญชี
        การที่ระบบ ERP สามารถรวมระบบงานต่าง ๆ เข้าเป็นระบบงานเดียว แบบ Real time 
ได้นั้น ก็เนื่องมาจากระบบ ERP มี database แบบสมุดลงบัญชี ซึ่งมีจุดเด่น คือ คุณสมบัติของการเป็น 
1 Fact 1 Place ซึ่งต่างจากระบบแบบเดิมที่มีลักษณะ 1 Fact Several Places ทำให้ระบบซ้ำซ้อน 
ขาดประสิทธิภาพ เกิดความผิดพลาดและขัดแย้งของข้อมูลได้ง่าย

เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner)
       เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่นำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เฉกเช่นเดียวกันกับคีบอร์ด 
แต่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือความสามารถในการอ่านบาร์โค้ดแล้วนำไปประมวลผล 
แปลงค่าเป็นข้อมูลตัวเลขหรือตัวอักษรที่สามารถเข้าใจได้ด้วยภาษามนุษย์ก่อนส่งต่อให้กับ
ระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องอ่านบาร์โค้ดถูกคิดค้นขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของความรวดเร็ว
และแม่นยำในการทำงาน แทนการใช้แรงงานคนในการพิมพ์ข้อมูลเข้าสู่ระบบทีละตัวอักษร 
ทีละตัวเลข ซึ่งมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้อยู่เสมอ และมีความล่าช้าอย่างมาก
       ในการเลือกซื้อเครื่องอ่านบาร์โค้ด ผู้ใช้จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงรูปแบบของข้อมูลบาร์โค้ด
ที่เราจะนำเครื่องอ่านไปใช้งานด้วย เพื่อให้เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ซื้อมา สามารถอ่านค่าบาร์โค้ด
ในรูปแบบนั้นๆได้ โดยบาร์โค้ดจะมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ คือ บาร์โค้ดแท่งในแบบ 1D (1 มิติ) และ 
บาร์โค้ดในแบบ 2D (2 มิติ)
       บาร์โค้ดในแบบ 1D จะมีลักษณะเป็นแท่งบาร์โค้ดในแนวนอนทั่วๆไปที่เราสามารถพบเห็นได้
บนตัวสินค้าต่างๆที่มีการจำหน่ายอยู่ตามซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า เป็นสินค้าที่เราใช้สอย
อยู่ในชีวิตประจำวัน โดยบาร์โค้ดแบบ 1D จะมีชนิดย่อยอยู่หลายชนิดด้วยกัน มีชื่อเรียกต่างๆกัน 
เช่น EAN-13, Code 128, Code 39 และอื่นๆอีกมากมาย ตัวอย่างของบาร์โค้ดแท่งแบบ 1D

RFID (อาร์เอฟไอดี) คืออะไร
E-mailPrintPDF
          เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID - Radio frequency identification) คือ เทคโนโลยีหนึ่งที่ใช้
ในการระบุสิ่งต่าง ๆ โดยอาศัยคลื่นวิทยุซึ่งต่างจากเทคโนโลยีอื่น ๆ  เช่น บาร์โค้ดที่อาศัยคลื่นแสง
หรือการสแกนลายนิ้วมือเป็นต้น  จะอธิบายให้เข้าใจถึงหลักการของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี  
และแนวคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนี้

คลื่นวิทยุกับเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี
          เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีอาศัยคลื่นวิทยุในการทำงาน  ดังนั้น เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี 
สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ที่จะต้องกล่าวถึงคลื่นวิทยุ
         คลื่นวิทยุ  (Radio frequency) เป็นคลื่น Electromagnetic ประเภทหนึ่งที่มีความยาวคลื่นระหว่าง
 0.1  ซม. ถึง 1,000กม. หรืออยู่ในช่วงความถี่ระหว่าง 30 Hzและ 300 GHz    เมื่อเป็นคลื่นวิทยุ 
จะเห็นได้ว่า วัสดุที่นำใช้กับคลื่นวิทยุย่อมมีผลต่อการใช้งานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในวัสดุประเภทที่
ที่คลื่นวิทยุสามารถผ่านได้สะดวก โดยไม่มีการสูญเสียพลังงาน ใดวัสดุเหล่านี้เรียกว่า  RF-lucent  
หรือ RF-friendly  หากนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมาใช้กับวัสดุเหล่านี้จะไม่มีผลเสียต่อการใช้งาน 
อย่างไรก็ตาม ยังมีวัสดุบางประเภทที่เป็นอุปสรรคในการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี มาใช้งาน 
วัสดุประเภทแรก เรียกว่า RF-opaque  วัสดุประเภทนี้จะหักเหคลื่นวิทยุหรือทำให้คลื่นวิทยุ
กระจัดกระจายออกไป  ส่วนวัสดุอีกประเภท เรียกว่า  RF-absorbent คลื่นวิทยุสามารถที่จะผ่าน
วัสดุประเภทนี้ได้  แต่อย่างไรก็ตาม คลื่นที่ผ่านมานั้นจะถูกดูดซับไว้หมดหรือต้องสูญเสีย
พลังงานมากในการที่จะทะลุผ่านได้
          ถึงแม้ว่าวัสดุแต่ละประเภทจะมีผลต่อคลื่นวิทยุ  อย่างไรก็ตามวัสดุประเภทหนึ่งจะมีผล
คลื่นวิทยุแต่ละช่วงความถี่ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ วัสดุนั้นอาจจะมีลักษณะเป็น RF-lucent ในคลื่น
ความถี่หนึ่งในขณะที่วัสดุเดียวกันนี้อาจจะเป็น  RF-opaqueหรือRF-absorbent ในคลื่นความถี่ 
ในช่วงอื่นก็ได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
บริษัทรีเทล บิซิเนส เซอร์วิสจำกัด

กระบวนการผลิต - ผลผลิต
ปัจจุบันเราสามารถแบ่งลำดับขั้นในการผลิตออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. การผลิตขั้นแรกหรือขั้นปฐมภูมิ (primary production) เป็นการผลิตที่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ
โดยตรง วิธีการผลิตง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการผลิตเพียงเล็กน้อย 
ผลผลิตที่ได้ส่วนใหญ่ไม่สามารถสนองความต้องการได้ทันที ต้องนำไปแปรสภาพก่อนจึงจะ 
สนองความต้องการได้ตัวอย่างของกิจกรรมที่จัดเป็นการผลิตขั้นปฐมภูมิหรือขั้นแรกคือ
การเกษตรกรรม ได้แก่ การเพาะปลูก ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ประมง ป่าไม้ ฯลฯ หรืออุตสาหกรรมการขุดแร่ การทำเหมืองโดยใช้เครื่องมือง่ายๆ
2. การผลิตขั้นที่สองหรือขั้นทุติยภูมิ (secondary production) เป็นการผลิตที่ต้อง อาศัยผลผลิต
อื่นมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต กรรมวิธีการผลิตมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ต้องใช้เครื่องมือ
และอุปกรณ์เพื่อประกอบการผลิตมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการผลิตในด้านอุตสาหกรรม เช่น 
การผลิต อาหารกระป๋องต่างๆ การผลิตเหล็กเส้น เหล็กแผ่น การต่อเรือ การสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ฯลฯ 
กิจการบางอย่างจะให้ผลผลิตที่สามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ทันที เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เตียง 
อาหารกระป๋อง และกิจการบางอย่างจะให้ผลผลิตซึ่งต้องนำไปผ่านการผลิตขั้นอื่นก่อนจึงจะใช้
ประโยชน์ได้ เช่น เหล็กเส้น และเหล็กแผ่น เป็นต้น
3. การผลิตขั้นที่สามหรือขั้นตติยภูมิ (tertiary production) เป็นการผลิตในลักษณะการให้บริการ
ด้านการขนส่ง การค้าส่ง การค้าปลีก การประกันภัย การธนาคาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วย
ให้ผลผลิตเคลื่อนย้ายจากการผลิตขั้นที่หนึ่งไปขั้นที่สอง และไปสู่ผู้บริโภคได้สะดวก รวดเร็ว 
มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพดีขึ้น

กระบวนการทางการเงิน
                                  ภาพที่ 5 พื้นฐานการวางแผนการเงิน
ระบบการจัดการการเงิน
        ในท้ายที่สุดแล้วธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้าง
และจัดการธุรกิจให้มีผลกำไร การอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องแข่งขันในสภาพแวดล้อมในระดับโลก
พร้อมกันกับที่ยังต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอันซับซ้อน เป็นความท้าท้ายอย่างสูงที่คุณต้องเผชิญและ
ก้าวข้ามไปให้ได้
     เป้าหมายของเราคือการช่วยให้ทุกธุรกิจประสบความสำเร็จในการจัดการทางการเงินตั้งแต่
การบันทึกบัญชีแยกประเภททั่วไป จนถึงการจัดทำรายงานงบการเงินที่ซับซ้อน การวัดผลและ
จัดการข้อมูลผลประกอบการขององค์กร ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจอยู่ที่ใด

โซลูชั่นการจัดการการเงิน
      โซลูชั่นการจัดการการเงินของ Epicor ออกแบบมาเพื่อให้กระบวนการทางการเงินของคุณเป็น
ไปอย่างราบรื่นโดยอัตโนมัติด้วยเครื่องมือและการควบคุมเพื่อรองรับความต้องการทางกฏหมาย
ที่ซับซ้อนและสร้างมูลค่าผ่านระบบติดตามข้อมูลทางการเงินได้อย่างทันท่วงทีที่ประกอบด้วย
         ·       บัญชีลูกหนี้, lockbox, การจัดการเครดิต และการจัดเก็บหนี้
         ·       บัญชีเจ้าหนี้, การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์, การจับคู่คำสั่งซื้ออัตโนมัติ
         ·       บัญชีแยกประเภททั่วไป, การลงบัญชี การรวมบัญชี และการตัดบัญชีระหว่างกัน
         ·       การบริหารเงินสด, งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร
         ·       การจัดการเงินเดือน สินทรัพย์ถาวร และภาษี
         ·       การจัดทำงบประมาณ การคาดการณ์ และการวางแผน
         ·       ซอฟต์แวร์ด้านการจัดการการเงิน
      หน่วยงานที่ดูแลกำกับกฎระเบียบ และบริษัทตรวจสอบต้องการให้องค์กรมีการกำกับดูแล
ทางการเงินที่ดี แต่ธุรกิจจำนวนมากยังคงใช้แหล่งข้อมูลทางการเงินที่ไม่เชื่อมโยงกัน 
แม้ว่าปัจจุบันสเปรดชีทที่ละแผนก ใช้อยู่กับระบบแบบเดิมๆ อาจเพียงพอสำหรับการจัดทำข้อมูล
ทางบัญชีการเงิน แต่เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องรวมศูนย์ข้อมูลและเพิ่มความสามารถในการมองเห็น
ข้อมูลด้านการเงิน องค์กรจะไม่สามารถแข่งขันและอยู่รอดในธุรกิจ ซอฟต์แวร์ด้านการจัดการ
การเงินของ Epicor รองรับความต้องการในการมองเห็นข้อมูลด้านการเงินได้โดยไม่ว่าจะเป็น
บริษัทขนาดใด

ERP ด้านการจัดการการเงิน
       เมื่อเวลาผ่านไป บริษัทที่ประสบความสำเร็จจะเติบโต ไม่ว่าโดยการควบกิจการ หรือการเติบโต
ตามปกติ ส่งผลให้เกิดความซับซ้อนในการจัดการองค์กรที่มีธุรกิจหลากหลาย Epicor เข้าใจว่า
การจัดการธุรกิจที่อยู่ห่างกันซึ่งบ่อยครั้งเป็นธุรกิจระดับโลกนั้นมีความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจ
ที่แตกต่าง ซึ่งมาพร้อมกับการควบคุมที่เข้มงวดมากขึ้น การลดต้นทุนในการดำเนินงาน 
การชำระเงินแบบข้ามประเทศ และการรวมงบการเงินเพื่อให้เห็นข้อมูลได้ทั่วทั้งองค์กร 
เพื่อรองรับความต้องการเหล่านี้ ระบบจัดการการเงินของ Epicor ได้นำเสนอการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง
สำหรับบริษัทที่รองรับการดำเนินงานที่มีหลายบริษัท หลายโรงงาน หรือมีคลังสินค้าหลายแห่ง 
รวมถึงการประมวลผลธุรกรรมภายในบริษัท และตอบสนองความต้องการด้านการจัดการการเงิน
ในระดับโลกได้เป็นอย่างดี

ขั้นตอนในการวางแผนการเงิน
1.กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ทางการเงิน
ในการวางแผนการเงิน   ควรจะเริ่มจากการมีเป้าหมายคร่าวๆว่า   เราอยากบรรลุเป้าหมายทางการเงิน
ในเรื่องอะไร   และต้องใช้เวลาเท่าไร   เช่น
   - อยากเกษียณการทำงานตอนอายุเท่าไร   ตอนนั้นอยากมีเงินใช้เดือนละเท่าไร
   - อยากเตรียมทุนการศึกษาให้ลูกเรียนถึงระดับไหน   ค่าใช้จ่ายเท่าไร   
    - หรืออยากวางแผนจัดสรรมรดกให้ลูกหลาน   ต้องทำอย่างไร
เป้าหมายที่กำหนดขึ้น   อาจเป็นเป้าหมายเดี่ยว   หรือ   เป้าหมายผสมผสานเต็มรูปแบบก็ได้
2.รวบรวมข้อมูล
เป็นการรวบรวมข้อมูลทางการเงิน   ทั้งของตนเอง   ครอบครัว   และภาวะรอบล้อมทางเศรษฐกิจ   
เพื่อเป็นฐานในการวิเคราะห์   เช่น   รายรับ   , รายจ่าย   , ทรัพย์สิน   , หนี้สิน   , ภาระผูกพัน   , ดอกเบี้ย   
หรือทิศทางการลงทุนในปัจจุบันและในอนาคต
3.วิเคราะห์และประเมินสถานะทางการเงิน
นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์   เพื่อหาสถานะทางการเงินปัจจุบัน ว่าตอนนี้มีเงินเก็บสุทธิเท่าไรแล้ว   
ยังขาดอีกเท่าไรเพื่อที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้   และมีทางเลือกอะไรบ้างที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น
4.จัดทำแผนการเงิน
หลังจากวิเคราะห์เงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆแล้ว   ให้ประเมินทางเลือกที่ดีที่สุด   แล้วเขียนแผนการเงิน
ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของเรา   ภายใต้สมมติฐานและข้อมูลที่รวบรวมไว้
5.นำแผนไปปฎิบัติ
เป็นการปฎิบัติตามแผนที่ได้เขียนไว้   ว่าต้องลงมือทำอะไรบ้างในกรอบเวลาเท่าไร   เช่น   
ต้องออมให้ได้เดือนละเท่าไร   ต้องนำเงินไปลงทุนอะไรบ้าง   หรือ   ต้องทำประกันภัยเพิ่มใน
เรื่องอะไรบ้าง   โดยต้องมีการตรวจทานด้วยว่า   ได้ทำครบพอที่จะบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
6.ติดตามและกำกับให้เป็นไปตามแผน
หลังจากปฎิบัติไปได้ระยะหนึ่ง   ต้องหมั่นตรวจสอบและประเมินผลที่เกิดขึ้นว่า   ได้ผลตามที่คาดหวัง
หรือไม่   สมมติฐานที่วางไว้มีการเปลี่ยนไปหรือไม่   อย่างไร และควรจะมีการปรับเปลี่ยนแผนให้
สอดคล้องกับภาวะการณ์ที่เปลี่ยนไปหรือไม่   ซึ่งโดยทั่วไปเราจะมีการทบทวนแผนการเงินปีละ   1 ครั้ง
7.ทบทวนและปรับปรุงแผนอย่างสม่ำเสมอ
คนที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ตามที่ต้องการมักเกิดจากการไม่มีวินัยในตนเองหรือ
ไม่สามารถปฏิบัติตามแผนการเงินที่วางไว้ได้
      ในขณะเดียวกันการปฏิบัติตามแผนการที่วางแผนไว้อย่างเคร่งครัด ไม่มีความยืดหยุ่นก็อาจทำ
ให้ไม่ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน   เพราะแผนการเงินที่จัดทำไว้มักถูกกระทบโดยปัจจัยหลายด้าน
เช่น ความมั่นคงในอาชีพ ภาวะเศรษฐกิจ สถานภาพทางสังคม อัตราผลตอบแทน นโยบายของรัฐบาล 
ความมั่นคงทางการเมือง เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีความไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
      การวางแผนการเงินที่ดี จึงควรมีการทบทวน (Review) และปรับปรุง (Revise) แผนให้สอดคล้อง
กับสภาวการณ์ปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การเดินทางไปยังเป้าหมายเป็นการเดินทางที่อยู่บนเส้นทาง
แห่งความเป็นจริง
บิลสลิป
                                         ภาพที่ 6 บิลสลิป
ที่มา : http://www.bangkokwealth.com

ใบแจ้งยอดธนาคาร
                                         ภาพที่ 7 ใบแจ้งยอดธนาคาร
ที่มา : http://www.bangkokwealth.com

ข้อมูลงบการเงิน
                                     ภาพที่ 8 ข้อมูลงบการเงิน
ที่มา : http://www.bangkokwealth.com

ที่มา     1นายสมชาย จันทร์รักษ์
            2.  im2market
            3. วิลาวรรณ รพีพิศาล.  (2554).  ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์.  ใน.
การบริหารทรัพยากรมนุษย์.
  (หน้า 1-9).  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ วิจิตรหัตถกร
            4. ดร.พรชัย เจดามาน posted by  สัญจร   คนเดินทาง
         5. About MB TECH
           6.  BY LOGISTICAFE · PUBLISHED
           7. ตรีทศ เหล่าศีริหงษ์ทอง และ มุนินทร์ ลพบุรี.ประโยชน์และอุปสรรคของ ERP ภายในองค์กร. ส่งเสริมเทคโนโลยี ปีที่ เล่มที่ 180 ,2548 (หน้า 109-114).
      8. เตชิด คิดรุ่งเรือง. ERP หัวใจอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย หลังเลิกระบบโควต้า. เทคนิค Techinc Magazine เครื่องกลไฟฟ้า-อุตสาหกรรม ปีที่ 21 เล่ม 204, 2548 (หน้า 156-158).
           9. ปราณี ชะวรรณ์ .คุณประโยชน์และข้อจำกัดของ ERP. E-Leader ปีที่ 15 เล่มที่ 10,2003 (หน้า 98-100).
         10. ปรีชา พันธุมสินชัย.ERP เผยวิธีทำจริง.กรุงเทพฯ: TLAPS, 2547.
         11. วสุวัฒน์ ปันวรนุชกุล. เตรียม ERP เผื่ออนาคต. E-Leader ปีที่ 15 เล่มที่ 7, 2003 (หน้า 84-88).
         12. http://www.eweekthailand.com/printout.php?bm!=0840425703
         13. http://www.emerald_bibrary.com/breu/23702ac.html

         15. Epicor Logo © Epicor Software Corporation

         
         17

   
เขียนโดย  1.นายธันญารัตน์       ทองน้อย           
                 2.นางสาวนภัสวรรณ  ประสารศรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Chapter 1

Accounting Information System and The Accountant ภาพที่ 1 ระบบ สารสนเทศ ทางการบัญชี ที่มา : http://blog.vzmart.com ...